ต้นตังกุย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 40-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง ส่วนของเหง้าหรือรากที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่
ถิ่นกำเนิดตังกุย
ตังกุยมีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน โดยเฉพาะมณฑล ส่านซี มณฑลยูนาน และใต้หวัน เหมาะกับสภาพอากาศชื้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนยาว รากของตังกุยคือส่วนที่จะนำเอาไปใช้เป็นยา ดังนั้นหากจะได้รากตังกุยที่ดี ก็จำเป็นต้องปลูกในสภาพอากาศที่มีความชื้นเหมาะสม มีดินที่อุ้มน้ำ และได้รับแสงรำไร มักจะพบตังกุยได้จากป่าดิบเขา และแหล่งเพาะปลูกตามภูเขาสูง
ประโยชน์และสรรพคุณตังกุย
- เป็นยาขับระดู
- แก้รกตีขึ้น
- ขับรกและแก้ไข้ในเรือนไฟ
- แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- แก้ตกมูกเลือด
- แก้สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ
- แก้สะอึก
- ช่วยเจริญอาหาร
- กระตุ้นให้อยากอาหาร
- แก้ไอ
- ช่วยรักษาสมดุลของการไหลเวียนโลหิตในผู้หญิง
- ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
- แก้ปวดประจำเดือน
- ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- เป็นยาระบายท้องอ่อนๆ
- ลดความเสี่ยงระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- แก้หืดไอ แก้หอบ
- แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
- ยับยั้งเนื้องอกในมดลูก รังไข่
- รักษาอาการวูบวาบใน “ผู้หญิง”
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือเคยอาเจียนเป็นเลือด และไม่ควรรับประทานหากมีประจำเดือนมามาก นอกจากจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานจากแพทย์แผนตะวันออกที่มีความรู้ในด้านโภชนาการ