ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง)
ถิ่นกำเนิดตำลึง
มีการสันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของตำลึงนั้นอยู่แถบคาบสมุทรมาเลเซีย และอินโดจีน เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา, พม่า, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และจีน เป็นต้น ปัจจุบันพบตำลึงขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในประเทศเขตร้อนชื้นหลายสิบประเทศ แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่รู้จักนำตำลึง มาใช้เป็นผักปรุงอาหาร เช่น ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จะมีการนำตำลึงมาใช้เป็นสมุนไพรเท่านั้น
ประโยชน์และสรรพคุณตำลึง
- ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า (ตำผสมกับปูนแดง)
- ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง
- ใช้เป็นยารักษาตาไก่
- เป็นยาเย็นดับพิษร้อน
- แก้ตาช้ำ ปวดตา
- แก้ฝี ฝีแดง
- แก้โรคตาต่างๆ (แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา)
- แก้ปวดแสบปวดร้อน
- แก้คัน
- แก้ไข้หวัด
- ช่วยถอนพิษ
- แก้เริม
- ช่วยย่อยอาหาร
- แก้หลอดลมอักเสบ
- รักษาเลือดออกตามไรฟัน
- แก้โรคโลหิตจาง
- แก้ไข้
- แก้พิษจากขนพืช หรือ สัตว์ต่างๆ
- ช่วยลดความร้อน
- แก้เจ็บเส้น
- รักษาลิ้นเป็นแผล
- แก้โรคผิวหนัง
- แก้มะเร็ง
- ลดน้ำตาลในเลือด
- แก้โรคหัวใจ
- แก้ดวงตาเป็นฝ้า
- ลดไขมันในเลือด
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- มีฤทธิ์ลดน้ำตาล
ลักษณะทั่วไปของตำลึง
ตำลึงจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีตำลึงจัดเป็นเอาไว้ยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามากเป็น 5 แฉก ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ใบสีเขียวเรียบไม่มีขนของใบมีต่อมคายน้ำ ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร
ทั้งนี้ชาวไทยแบ่งตำลึงออกเป็นสองชนิด คือ ตำลึงตัวผู้ และตำลึง ตัวเมีย โดยใช้ลักษณะของใบเป็นหลัก กล่าว คือ ชนิดที่มีใบเป็นหยักเว้าเข้าไปถึงโคนใบเรียกว่าตำลึงตัวผู้ ส่วนชนิดที่มีใบกว้างเต็ม หรือ เว้าเล็กน้อยเรียกว่าตำลึงตัวเมีย
ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลรูปร่างกลมรีคล้ายแตงแต่เล็กกว่า กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว มีสายขาวๆ เมื่อแก่สุกจัดมีสีแดง หรือ แดงอมส้มเนื้อในสีแดงและมีเมล็ดหลายเมล็ดข้างในลักษณะแบนสี ขนาด 2-3 เซนติเมตร