มะน้ำ, หมากน้ำ (ภาคเหนือ), บักน้ำ (อีสาน), คิลูล่า (กะเหรี่ยง)
ถิ่นกำเนิดน้ำเต้า
สำหรับถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของน้ำเต้านั้นมีการสันนิษฐานกันอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ เชื่อกันว่าน้ำเต้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ โดยมนุษย์นำไปปลูกยังพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งเชื่อกันว่าน้ำเต้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และยังเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่มนุษย์นำมาปลูก เพราะมีการขุดพบกระดูกของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบเศษของเปลือกน้ำเต้าอยู่ในหลุมศพที่ค้นพบด้วย สำหรับในประเทศไทยในปัจจุบันสามารถพบเห็นน้ำเต้า ได้ทุกภาคของประเทศ และมีหลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าผลกลม น้ำเต้าเซียน น้ำเต้าขม น้ำเต้างาช้าง เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณน้ำเต้า
- ใช้เป็นยาแก้ดีแห้ง
- ช่วยขับน้ำดีให้ตกในลำไส้
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- แก้โรคผิวหนัง
- แก้เริม
- แก้งูสวัด
- รักษาแผลพุพอง
- แก้ผื่นคัน
- แก้ฟกช้ำบวม
- ช่วยดับพิษไข้ ตัวร้อน
- แก้ร้อนใน
- แก้กระหายน้ำ
- ช่วยพิษอักเสบ
- ใช้ทำให้อาเจียน
- ใช่เป็นยาระบาย
- ใช้เป็นถ่ายพยาธิ
- ช่วยลดไขมันในเลือด
- แก้บวมน้ำ
- แก้ปวดศีรษะ
ลักษณะทั่วไปของน้ำเต้า
น้ำเต้า เป็นพืชในตระกูลแตง จัดเป็นไม้เถาโดยเถามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัน มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ตลอดเถา มีมือเกาะตามเถาโดยจะออกบริเวณโคนของก้านใบทั้ง 2 ทาง ใบออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณข้อของเถา โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ใบมีลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ มี 5 เหลี่ยม และมีขนอ่อนสีขาวขึ้นปกคลุมเช่นเดียวกันกับเถา ใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างสีเขียวอ่อน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ โดยดอกมีสีขาว และมี 2 เพศ แยกกันอยู่ต่างดอก ดอกตัวผู้คล้ายกับถ้วย