ผักแว่น (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้), ผักแวน, ผักแว่น (ภาคอีสาน), หนูเต๊าะ (กะเหรี่ยง), Chuntul phnom (กัมพูชา), tapahitik (มาเลเซีย)
ถิ่นกำเนิดผักแว่น
ผักแว่นเป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณเขตอบอุ่น และเขตร้อน ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยสามารถพบได้ตามที่ดินมีความชุ่มชื่นจนถึงน้ำท่วมขัง แหล่งน้ำตื้น ริมตลิ่งชายน้ำ หรือ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ ตลอดจนในนาข้าว สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งนี้ผักแว่นกับส้มกบ (oxalis corniculate Linn) เป็นพืชคนละชนิดกัน เพียงแต่มีลักษณะคล้ายกัน และมีชื่อเรียกเหมือนกันว่า “ผักแว่น) ซึ่งอาจทำให้สับสนได้
ประโยชน์และสรรพคุณผักแว่น
- ช่วยเป็นยาบำรุงธาตุ
- ช่วยเจริญอาหาร
- แก้ฝีในลำคอ
- ช่วยถอนพิษทั่วไป
- ช่วยลดไข้
- แก้หวัด
- แก้ตัวร้อน
- แก้เจ็บคอ คอแห้ง คออักเสบ
- แก้ปวดท้อง ท้องเสีย
- แก้อาเจียนเป็นเลือด
- แก้ดีพิการ
- แก้อุจจาระเป็นเลือด
- ใช้สมานแผลในปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร
- แก้เคล็ดขัดยอก
- แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- แก้อาการร้อนใน
- ช่วยดับกระหาย
- แก้อาการปากเปื่อย
- แก้ผิดสำแดง
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยบำรุงสายตา
ลักษณะทั่วไปของผักแว่น
ผักแว่น เป็นพืชในกลุ่มของเฟินน้ำ จัดเป็นไม้น้ำล้มลุก มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามผิวดิน หรือ ผิวน้ำ ซึ่งสามารถแตกเถาย่อย หรือ เถาแขนงได้ แต่ละเถามีลักษณะกลม เรียงยาว สีขาว หรือ สีเหลืองอมขาว และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเถามีลักษณะเป็นข้อปล้องชัดเจน และฉ่ำน้ำขนาดเถาประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และมีความยาวของเถาได้กว่า 20-40 เซนติเมตร
ส่วนระบบรากผักแว่น มีเฉพาะรากฝอยที่เกิดด้านล่างของลำต้น โดยรากฝอยนี้พบได้ทั้งในส่วนลำต้นหลัก และบริเวณข้อปล้อง โดยรากฝอยอาจแทงหยั่งลงดิน หรือ ลอยน้ำก็ได้