คาวตอง (ภาคเหนือ), ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), พลูแก (ภาคกลาง), หื่อชอเช่า (จีนแต้จิ๋ว), ยวีเซียนฉ่าว (จีนกลาง)
ถิ่นกำเนิดพลูคาว
พลูคาว เป็นพืชที่มีอายุยืนและเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย (india) เรื่อยมาจนถึงจีน (china) ลาว (laos) เกาหลี (korae) เวียดนาม (vietnam) และญี่ปุ่น (japan) ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อย และสภาพอากาศเย็น โดยจะมีลักษณะแตกต่างจากพลู คือ ที่ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม โดยชาวบ้านในเขตภาคเหนือจะเรียกว่า “ผักคาวตอง” ส่วนภาคอื่นๆ ได้มีการนำต้นพลูคาวไปปลูก และพบว่าสามารถปลูกพลูคาว ได้แต่ไม่เจริญงอกงามได้เท่ากับในภาคเหนือ
ประโยชน์และสรรพคุณพลูคาว
- แก้กามโรค
- แก้เข้าข้อ
- แก้น้ำเหลืองเสีย
- ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- แก้พิษ
- เป็นยาขับปัสสาวะ
- แก้บวมน้ำ
- รักษาปอดอักเสบเป็นหนอง
- แก้หลอดลมอักเสบ
- รักษาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- รักษาไตอักเสบ
- แก้บวมน้ำ
- รักษาลำไส้อักเสบ
- รักษาเต้านมอักเสบ
- รักษาหูชั้นกลางอักเสบ
- แก้บิด
- แก้ริดสีดวงทวาร
- แก้พิษงู
- แก้แมลงกัดต่อย
- แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
- แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
- แก้ฝีฝักบัว ฝีแผลเปื่อย
- ช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ช่วยในการต้านทานโรค
ลักษณะทั่วไปของพลูคาว
พลูคาว เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กและมีอายุยืน ทอดเลื้อยไปตามพื้นดินชอบที่ชื้นแฉะ มีรากแตกออกตามข้อ สูง 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง กลม สีเขียว เรียบมัน อาจพบสีม่วงแดงอ่อน ทั้งต้นถ้านำมาขยี้ดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา
ใบพลูคาว เป็นใบเดี่ยว มีกลิ่นคาว เรียงสลับ แผ่นใบแผ่บาง เกลี้ยง โคนใบเว้าเข้าหากัน คล้ายรูปหัวใจ หรือ รูปไต ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3.5-9 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร เส้นใบออกจากฐานใบ 5-7 เส้น มีขน ผิวใบด้านบนเรียบสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ โคนก้านใบแผ่เป็นปีกแคบ ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร หูใบเป็นแผ่นยาวติดกับก้านใบ เมื่อขยี้ใบดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา รสฝาดเล็กน้อย
ดอกพลูคาวสีเหลือง ออกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กมาก และมีจำนวนมากอัดกันแน่นบนแกนช่อ รูปทรงกระบอก ออกบริเวณปลายยอดหรือซอกใบใกล้ยอด ไม่มีกลีบดอกและก้านดอก มีใบประดับ 4 ใบ สีขาวนวล รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาดไม่เท่ากันรองรับโคนช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อติดผลจะเจริญยาวขึ้นได้ถึง 2.5-5 เซนติเมตร กลีบรองดอกและกลีบดอกลดรูป เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรตัวเมียมีก้านชูยอดเกสร 3 อัน
ผลพลูคาว มีขนาดเล็กมาก แห้งแตกได้ ที่บริเวณยอด มีเมล็ดขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ริมน้ำ พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบต่ำไปจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,500 เมตร ออกดอก และติดผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม