มะขามข้อง (แพร่)
ถิ่นกำเนิดมะขามเทศ
มะขามเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด และจัดเป็นพืชพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง แต่ก็มีแหล่งข้อมูลบางที่ระบุว่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งรถร้างทั่วไป หรือ ที่สาธารณะต่างๆ ทั่วประเทศ เพราะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรค และแมลงต่างๆ นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการปลูกมะขามเทศ พันธุ์ที่มีรสหวานเพื่อการค้าอีกด้วย โดยแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศไทย คือ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี, จ.สมุทรสงคราม, จ.สมุทรสาคร, จ.สระบุรี เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณมะขามเทศ
- เป็นยาระบาย
- ช่วยรักษาบาดแผล
- แก้พิษแมลงป่อง
- ช่วยในการขับถ่าย
- แก้ท้องผูก
- ช่วยบำรุงผม
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
- ช่วยในการบำรุงประสาท และสมอง
- ช่วยแก้ไอ
- ช่วยขับเสมหะในลำไส้
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยสมานแผล
- ช่วยห้ามเลือด
- รักษาโรคปากเปื่อย
- โรคปากนกกระจอก
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ช่วยเสริมสร้างกระดูก
- ช่วยเสริมสร้างฟัน
ลักษณะทั่วไปของมะขามเทศ
มะขามเทศจัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ไม้ผลัดใบ มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งมักจะแตกออกมากในระดับต่ำ ลำต้นค่อนข้างกลมเปลือกเรียบ เปลือกมีสีเทาแกมขาว หรือ เทาดำเป็นร่องเล็ก ตามลำต้น และกิ่งมีหนามแหลมคม ในตำแหน่งรอยก้านใบ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ แบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับ หรือ รูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมนขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบมีสีเขียวลักษณะเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม โดยจะแทงออกบริเวณหนามของกิ่ง ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ที่บริเวณข้อติดกับก้านใบ และปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะยาวได้ถึง 10 ซม. ส่วนก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศรวมเป็นกลุ่ม 15-20 ดอกในแต่ละช่อย่อย