มะไห่, มะห่อย, ผักไห่, ผักไซ (ภาคเหนือ), มะระหนู, มะร้อยรู (ภาคกลาง), ผักสะไล, ผักไส่ (ภาคอีสาน), ระ (ภาคใต้), ผักไห (นครศรีธรรมราช), ผักเหย (สงขลา), สุพะซู, สุพะซู, สุพะเด (กะเหรี่ยง- มะฮ่อง
ถิ่นกำเนิดมะระขี้นก
มีข้อมูลว่ามะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวรวมกับข้อมูลการค้นคว้าถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกที่ได้มีการค้นคว้ากันมากในอดีตพอจะสรุปได้ว่า ถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกนั้นอยู่ในเขตร้อนของเอเชีย และทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน ซึ่งอาจรวมไปถึงเขตร้อนในอเมริกาใต้ หรือ แถบประเทศลาตินอเมริกาอีกด้วย เพราะในปัจจุบันนั้นมะระขี้นกสามารถเพาะปลูก หรือ มีให้เห็นได้ในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น บราซิล, อาร์เจนตินา, ปารากวัย ฯลฯ แอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา, แทนซาเนีย, ยูกันดา ฯลฯ และเอเชีย เช่น พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณของมะระขี้นก
- แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยแก้ไข
- แก้ตัวร้อน ดับพิษร้อน
- แก้ปากเปื่อย เป็นขุม
- แก้พิษฝี
- บำรุงน้ำดี
- แก้ตับม้ามพิการ
- แก้อักเสบฟกบวม
- แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ
- แก้หอบหืด
- ช่วยบำรุงร่างกาย
- บำรุงโลหิตระดู
- แก้ตับม้ามอักเสบ
- ช่วยขับพยาธิ
- แก้เจ็บปวดจากพิษต่างๆ
- เป็นยาระบายอ่อนๆ
- แก้เบาหวาน
- แก้ไข้หวัด
- ช่วยต้านไวรัสเอดส์
- ช่วยต้านมะเร็ง
- ใบช่วยสมานแผล
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ใช่เป็นยาระบาย
ลักษณะทั่วไปของมะระขี้นก
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้อายุเพียง 1 ปี มีมือเกาะ หรือ หนวดเล็กยาวสำหรับยึดเกาะกับพืชอื่น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน ลักษณะคล้ายใบ แตงโม แต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบหยักเว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบ แหลมใบกว้าง ประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาว 4-10.5 เซนติเมตร ดอกออกเดี่ยว เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีสีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรสีเหลืองแก่ส้ม มีเกสรตัวผู้และอับเรณูอย่างละ 3 อัน ดอกตัวเมีย มีรังไข่ 1 อัน กลีบดอกบาง ผล เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองส้ม เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-3.5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ผลแก่แตกอ้าออกภายในมีเมล็ดรูปร่างกลม แบน หรือ รูปไข่ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีแดง ส่วนที่ได้ชื่อว่ามะระขี้นกนั้น เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก และทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า “มะระขี้นก“