หมามุ่ย

หมามุ่ย

บะเหยือง, หม่าเหยือง (ภาคเหนือ), ตำแย (ภาคกลาง), โพล่ยู (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), กลออือแซ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ถิ่นกำเนิดหมามุ่ย 

หมามุ่ย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตโซนร้อน (tropical) ต่างๆ ของโลกในทวีปแอฟริกา และเอเชีย โดยในเอเชียสามารถพบหมามุ่ย ได้ในประเทศ ไทย อินเดีย จีน พม่า ลาว กัมพูชา ฯลฯ และมักจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งหมามุ่ย ในโลกนี้ มีมากมายนับร้อยสายพันธุ์ แต่ก็ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน

ประโยชน์และสรรพคุณหมามุ่ย

  1. เป็นยาแก้ไข้
  2. ช่วยขับปัสสาวะ
  3. บำรุงประสาท
  4. รักษาโรคบุรุษ
  5. กระตุ้นกำหนัด
  6. กระตุ้นเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย
  7. ขับปัสสาวะ
  8. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
  9. ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
  10. ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
  11. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย
  12. ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ
  13. ช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
  14. ช่วยผ่อนคลายความเครียด

ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย


หมามุ่ย 
จัดเป็น ไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีเถาเลื้อย ยาว 2-10 เมตร มีขนหนาแน่น

           ใบหมามุ่ย เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 3 ใบ ที่ปลาย รูปไข่ หรือ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางมักมีขนาดใหญ่ที่สุด กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร แผ่นใบทั้งสองด้านมีขนสีเทาปกคลุม ฐานใบเบี้ยว ปลายใบมน หรือ มีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมี 3 เส้น

           ดอกหมามุ่ย ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบ ห้อยลงมา ยาว 15-30 เซนติเมตร ดอกสีม่วงคล้ำ มีกลิ่นเหม็นเอียน รูปดอกถั่ว ดอกย่อยมีจำนวนมาก ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร กลีบกลางรูปไข่ ปลายกลีบเว้า กลีบคู่ข้างรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูป ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีน้ำตาลอ่อน มีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมกันเป็น 2 กลุ่ม อับเรณูมีสองแบบ เกสรเพศเมียมีรังไข่รูปแถบ มีขนยาวสีเทา รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

           ผลหมามุ่ย เป็นฝักโค้งรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร หนาประมาณ 5 มิลลิเมตร มีลักษณะม้วนงอที่ปลายฝัก ตามผิวมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหนาแน่น เป็นขนแข็ง และสั้น พอฝักแห้งขนจะหลุดร่วงปลิวตามลมได้ง่าย เมื่อโดนผิวหนัง จะทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดมี 4-7 เมล็ด สีดำเป็นมัน พบตามชายป่า ป่าไผ่ และที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกดอก และติดผลราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ความแตกต่างของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดีย หมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียนั้นดูผิวเผินแล้วอาจจะคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันที่ฝักและเมล็ด โดยสามารถสังเกตได้ว่าหมามุ่ยอินเดียจะมีขนฝักสั้น เมื่อสัมผัสแล้วจะไม่มีอาการคัน และเมื่อแกะฝักออกมาแล้วเมล็ดที่อยู่ภายในจะมีสองสีสลับกัน ดำบ้างขาวบ้าง ในขณะที่หมามุ่ยไทยนั้นจะมีขนฝักยาวและหากสัมผัสก็จะทำให้เกิดอาการคัน อาจเกิดอาการแพ้ได้ ทั้งนี้ขนาดฝักก็ยังเล็กกว่าหมามุ่ยอินเดีย ส่วนสีของเมล็ดจะเป็นสีดำสนิทขนาดคละกันไป

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *