แมงลักคา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และการปักชำ แต่โดยมากจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดในธรรมชาติมากกว่าการนำมาปลูก
ถิ่นกำเนิดแมงลักคา
แมงลักคาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา เช่น เม็กซิโก, กัวเตมาลา, เอลซัลวาดอ, ฮอนดูรัส เป็นต้น จากนั้นได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก เช่นใน ปาปัวนิวกินี, คูราเซา, อินเดีย, บราซิล, อินโดนีเซีย, จีน และไทย สำหรับในประเทศไทยนั้น สามารถพบแมงลักคา ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบตามบริเวณที่รกร้าง ตามข้างทาง ริมฝั่งแม่น้ำ หรือ ตามป่าทั่วไปที่มีความสูงไม่เกิน 1300 เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังถูกจัดให้เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งในพื้นที่การเกษตรอีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณแมงลักคา
- ช่วยขับเหงื่อ
- แก้หวัด
- ช่วยขับน้ำนม
- รักษาโรคผิวหนัง
- แก้ชักกระดูก
- แก้ปวดข้อ
- ใช้แก้ปวดท้อง
- ช่วยขับระดู
- เป็นยาเจริญอาหาร
- ช่วยดับกลิ่นปาก
- ใช้ขับเหงื่อในคนที่เป็นหวัด
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- แก้ปวดกระเพาะ
- แก้ปวดบิด
- แก้เบาหวาน
- แก้ไข้หวัด มาลาเรีย
- ใช้ขับลม
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยลดไข้
- แก้ปวดท้องประจำเดือน
- รักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาต
- รักษาแผลพุพอง
- ช่วยย่อยอาหาร
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์ ห้ามใช้แมงลักคาเป็นสมุนไพร เพราะมีฤทธิ์ขับระดูในสตรี
- ในการใช้แมงลักคาเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ นั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรับ ตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อ รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำก่อนจะใช้แมงลักคา เป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ