บุก

บุก

มันซูรัน (ภาคกลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เมีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) บุกคางคก (กลาง เหนือ) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ (สกลนคร) กระบุก (บุรีรัมย์)ป บุกรอหัววุ้น หมอยวี จวี๋ ยั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หมอยื่น (จีนกลาง) วุก (ไทใหญ่)

ถิ่นกำเนิดบุก

บุกเป็นพืชหัว เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้วโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Odoardo Beccari ได้ค้นพบพืชในสกุลบุกชนิดหนึ่ง คือ Amophophallus titanium (Becc.) Ex Arcang. ในป่าของประเทศอินโดนีเซียด้วยขนาดดอกที่ใหญ่มหึมาและลักษณะรูปพรรณสัณฐาน สีสันสวยงาม แปลตาได้ปลุกเร้าความสนใจของนักพฤกษศาสตร์ และคนทั่วไปให้หันมาศึกษาค้นคว้า และให้ความสำคัญกับพืชนี้มากขึ้น และได้ขนานนามดอกไม้ขนาดยักษ์นี้ว่า “ดอกไม้มหัศจรรย์” สายพันธุ์บุกในโลกมีไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชีย พบมากที่สุดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์และสรรพคุณบุก

  1. เป็นยาบำรุงธาตุ
  2. ขับลม
  3. แก้บิด
  4. แก้โรคไขข้ออักเสบ
  5. ลดความอ้วน
  6. บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  7. แก้ริดสีดวงทวาร
  8. ใช้ขับเสมหะ 
  9. ใช้พอกฝี
  10. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  11. เป็นยารักษาโรคมะเร็ง
  12. แก้อาการไอ
  13. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรี
  14. แก้โรคตับ
  15. ใช้แก้พิษงู
  16. แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ลักษณะทั่วไปของบุก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม่ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว ใบบุกเป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกางก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใน รูปใบบุกยาวปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. ลำต้นสูง 1 – 2 เมตร ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี และจานรองดอก จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น เมื่อบานจานรองดอกจะโรย เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นบุกจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม.เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *