ตะค้านเล็ก , ตะค้านหยวก , จะค่าน , จั๊กค่าน , หนาม , มังเหาเจ๊าะ , ผู่แฮเหมาะ
ถิ่นกำเนิดสะค้าน
สะค้านพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ที่มีสภาพป่าดิบชื้น โดยพืชสกุลพริกไทยส่วนใหญ่แล้วมีแหล่งที่สำรวจพบอยู่ในเขตร้อนชื้น จากการสำรวจความหลากหลายในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันซึ่งรวบรวมไว้ใน “หนังสือพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย” พืชสกุลพริกไทยในประเทศไทยทั้งสิ้น 42 ชนิด
ประโยชน์และสรรพคุณสะค้าน
- แก้ลมอัมพฤกษ์
- แก้ลมในทรวงอก
- ขับลมในลำไส้
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
- แก้ไข้
- แก้หืด
- แก้จุดเสียด
- รักษาธาตุ
- ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต
- เป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์
- ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก
- แก้ธาตุพิการ
- บำรุงธาตุทำให้ผายเรอ
- แก้โรคเบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นเหียนอาเจียนจนถึงขั้นหายใจขัด
ลักษณะทั่วไปสะค้าน
ไม้เถาเลื้อย ลำต้นอวบอ้วนขนาดใหญ่ ทุกส่วนเกลี้ยง รูปทรงและขนาดของใบพบได้หลากหลาย เนื้อใบเหนียวและหนามาก ใบบนลำต้นมีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปสามเหลี่ยมแคบโดยเรียวไปทางปลายใบ หรือรูปไข่แคบ ฐานใบเว้าลึกพูมน สมมาตรหรือไม่สมมาตร ปลายใบแหลม ใบบนกิ่งแผ่นใบรูปรี ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม แผ่นใบทั้งสองแบบขนาด 5-11.5 x 8-22 ซม. เส้นใบมีจำนวน 9 เส้น มี 3 คู่ออกจากฐานใบ เส้นอื่นๆ ออกจากเส้นกลางใบเหนือฐานใบ 2-3 ซม. ช่อดอกเพศผู้ห้อยลง ขนาด 0.1-0.2 x 5-8 ซม. ก้านช่อดอกยาว 0.5-0.8 ซม. ใบประดับมีก้าน เกสรเพศผู้ 4 อัน ช่อผลยาว 2-18 ซม. ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. เมื่อแก่มีสีเขียวแกมเหลือง เมื่อสุกมีสีแดง ก้านผลยาว 0.5-0.6 ซม
สะค้าน เป็นพืชสกุลพริกไทย (genus Piper) ชนิดที่เกิดในป่าหรือไม่ระบุชนิด มักมีชื่อเรียกทั่วไปว่า สะค้าน จะค้าน หรือตะค้าน ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์หลายประการ รับประทานเป็นผัก นำมาปรุงอาหาร ใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ