มะระขี้นก

มะระขี้นก

มะไห่, มะห่อย, ผักไห่, ผักไซ (ภาคเหนือ), มะระหนู, มะร้อยรู (ภาคกลาง), ผักสะไล, ผักไส่ (ภาคอีสาน), ระ (ภาคใต้), ผักไห (นครศรีธรรมราช), ผักเหย (สงขลา), สุพะซู, สุพะซู, สุพะเด (กะเหรี่ยง- มะฮ่อง ถิ่นกำเนิดมะระขี้นก มีข้อมูลว่ามะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวรวมกับข้อมูลการค้นคว้าถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกที่ได้มีการค้นคว้ากันมากในอดีตพอจะสรุปได้ว่า ถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกนั้นอยู่ในเขตร้อนของเอเชีย และทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน ซึ่งอาจรวมไปถึงเขตร้อนในอเมริกาใต้…
พลูคาว

พลูคาว

คาวตอง (ภาคเหนือ), ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), พลูแก (ภาคกลาง), หื่อชอเช่า (จีนแต้จิ๋ว), ยวีเซียนฉ่าว (จีนกลาง) ถิ่นกำเนิดพลูคาว พลูคาว เป็นพืชที่มีอายุยืนและเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย (india) เรื่อยมาจนถึงจีน (china) ลาว (laos) เกาหลี (korae) เวียดนาม (vietnam) และญี่ปุ่น (japan) ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อย และสภาพอากาศเย็น โดยจะมีลักษณะแตกต่างจากพลู คือ ที่ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม โดยชาวบ้านในเขตภาคเหนือจะเรียกว่า…
ตำลึง

ตำลึง

ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง) ถิ่นกำเนิดตำลึง มีการสันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของตำลึงนั้นอยู่แถบคาบสมุทรมาเลเซีย และอินโดจีน เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา, พม่า, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และจีน เป็นต้น ปัจจุบันพบตำลึงขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในประเทศเขตร้อนชื้นหลายสิบประเทศ แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่รู้จักนำตำลึง มาใช้เป็นผักปรุงอาหาร เช่น ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จะมีการนำตำลึงมาใช้เป็นสมุนไพรเท่านั้น ประโยชน์และสรรพคุณตำลึง ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า (ตำผสมกับปูนแดง) ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง…
ส้มป่อย

ส้มป่อย

ส้มขอน, ส้มคอน (ไทยใหญ่, แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี (อีสาน), ผ่อชิละ, ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง) ถิ่นกำเนิดส้มป่อย ส้มป่อย เป็นพืชที่เป็นที่รู้จักดันดีในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือที่ถือว่าส้มป่อย เป็นไม้มงคล โดยมีความเชื่อว่าหากบ้านใดมีต้นส้มป่อยในบ้าน จะช่วยป้องกันเพศภัย และเคราะห์ต่างๆ ให้ปล่อยออกไปจากบ้านดังชื่อของส้มป่อย และฝักของส้มป่อยก็ใช้แช่น้ำเชื่อว่าจะทำให้เป็นน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ใช้ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ได้ ซึ่งส้มป่อยนี้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ประเทศไทย, พม่า, ลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย…
ทับทิม,ผลไม้

ทับทิม

เซี๊ยะลิ้ว(จีน) , พิลา (หนองคาย) ,พิลาขาว ,มะก่องแก้ว (น่าน) ,มะเก๊าะ (เหนือ), หมากจัง(แม่ฮ่องสอน) Granada (สเปน) , Darim (อินเดีย) ถิ่นกำเนิดทับทิม ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น ทับทิมคงเป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากว่าพันปีแล้ว จึงมีการปลูกแพร่กระจายออกไปทั้งในเขตร้อน (tropical) และกึ่งร้อน (Sub-tropical) ของทวีปเอเชีย ยุโรป รวมทั้งในทวีปแอฟริกา ประโยชน์และสรรพคุณทับทิม…
สมอไทย

สมอไทย

สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) สมอ (นครราชสีมา) มาแน่ (เชียงใหม่) หมาก               ถิ่นกำเนิดสมอไทย สมอไทยเป็นพืชท้องถิ่นไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และลาว เป็นต้น รวมถึงเอเชียใต้ พบได้มากในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือ ชาวธิเบตถือว่าสมอไทยคือ "ราชาแห่งยา"…
บุก

บุก

มันซูรัน (ภาคกลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เมีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) บุกคางคก (กลาง เหนือ) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ (สกลนคร) กระบุก (บุรีรัมย์)ป บุกรอหัววุ้น หมอยวี จวี๋ ยั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หมอยื่น (จีนกลาง) วุก (ไทใหญ่) ถิ่นกำเนิดบุก บุกเป็นพืชหัว เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณ…
ถั่งเช่า

ถั่งเช่า

การใช้ประโยชน์ถั่งเช่านั้น จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ขนาดบริโภค ในแต่ละวัน ประมาณ 3-9 กรัม ถิ่นกำเนิดถั่งเช่า ถั่งเช่า หรือ ตังถั่งเช่า พบได้ แถบทุ่งหญ้าประเทศจีน (ธิเบต), เนปาล, ภูฎาน ในระดับความสูง 10000 -12000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล แต่ในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่า  ส่วนใหญ่การเพาะเห็ดถั่งเช่าจะอยู่ในบริเวณภาคใต้ของมณฑลชิงไห่ เขตซานโตวในธิเบต มณฑลเสฉาน ยูนนาน และกุ้ยโจว ถือได่ว่าถั่งเช้าเป็น “ทองคำแห่งสมุนไพรจีน” ประโยชน์และสรรพคุณถั่งเช่า ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ มีฤทธิ์บำรุงกำลังทางเพศ…
มะกรูด

มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด  ถิ่นกำเนิดมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกูลส้ม และมะนาว เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนชื้นแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ฯลฯ ซึ่งถูกจัดเป็นไม้ผล สำหรับมะกรูดในประเทศไทยนั้น ชาวไทยคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ประโยชน์และสรรพคุณมะกรูด ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายใน แก้เสมหะเป็นพิษ มีน้ำมันหอมระเหยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล…
มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงไม่รู้หาว (ภาคกลาง), มะม่วงกุลา, มะม่วง ลังกา, มะม่วงสินหน, มะม่วงสิโห, มะม่วงหลอด (ภาคเหนือ), กาหยู, กาหยี, ท้ายล่อ, ตำหยาว, ยาร่วง, ยาโอย, กะแตแกล,  ถิ่นกำเนิดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยเชื่อกันว่าน่าจะอยู่บริเวณประเทศบราซิล แล้วจึงมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เช่น ในทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ ยุโรป และทวีปเอเชีย สำหรับในทวีปเอเชียนั้น เมื่อประมาณศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เข้ามาทดลองปลูกในประเทศอินเดีย…